วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว
1. จุกหม้อ
2. ฝาหม้อ
3. หม้อใน
4. หม้อนอก
5. หูหม้อ
6. ไฟอุ่น
7. ไฟหุง
8. ช่องเสียบปลั๊ก
9. สวิทซ์หุงข้าว
10. สายไฟ
11. แผ่นความร้อน
12. จานรองแผ่นความร้อน
13. แผ่นนึ่ง
ส่วนประกอบของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า







1. อุปกรณ์ให้ความร้อน
อุปกรณ์ให้ความร้อน หรือแผ่นฮีตเตอร์ที่ใช้ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า จะเป็นลวดนิโครม (Nichrome Wire) หรือเรียกว่านิเกิล- โครเมียมแอนลอยย์ (Nikel-Chromium Alloy) ซึ่งมีส่วนผสมของนิเกิล (Nikel) 60% โครเมียม (Chromium) 16% และเหล็ก (Iron) 24% ซึ่งลวดนิโครมดังกล่าวนี้สามารถทนความร้อนได้ถึง 1,700 องศาฟาเรนไฮด์ หรือประมาณ 926 องศาเซลเซียส
แผ่นความร้อนที่ใช้กับหม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีอยู่ 2 แบบ คือ
ก. แผ่นความร้อนแบบกึ่งปิด (Semi closing Heating element) แผ่นความร้อนแบบนี้จะใช้กับหม้อหุงข้าวแบบเก่า ซึ่งมี ลักษณะเป็นภาชนะ 2 ชั้นซ้อนกับภาชนะใบนอก ซึ่งภาชนะใบนอกจะมีไว้สำหรับใส่น้ำและภาชนะใบในจะมีไว้สำหรับบรรจุน้ำและข้าว ที่จะหุง แผ่นความร้อนชนิดนี้ จะมีลักษณะเป็นวงแหวนโดยจะนำลวดนิโครมชนิดแบน พันรอบฉนวนทนความร้อน หรือเรียกว่าแผ่นไมก้า (Mica) และก็จะใช้แผ่นไมก้าอีก เช่นกันปิดทับหน้าหลังอีกทีหนึ่ง (ดังรูป) ซึ่งโครงสร้างส่วนประกอบของแผ่นความร้อนชนิดนี้จะคล้าย กับแผ่นความร้อนของเตารีพแบบกึ่งปิด ในปัจจุบันแผ่นความร้อนลักษณะนี้จะมาทำเป็นแผ่นอุ่นข้าวในหม้อหุงข้าวรุ่นใหม่
ข. แผ่นความร้อนแบบปิด (Closing Heating element) แผ่นความร้อนแบบปิดนี้จะใช้กับหม้อหุงข้าวรุ่นใหม่ที่ผลิตขึ้น ในปัจจุบัน แผ่นความร้อนชนิดนี้จะทำด้วยลวดนิโครม ที่มีลักษณะคล้ายสปริงหุ้มด้วยผงฉนวน (Insulator powder) ก็จะหล่อทับด้วย อลูมิเนียมอีกชั้นหนึ่งโดยมีขั้วต่อยื่นออกมา 2 ขั้ว (ดังรูป)
2. อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Control)
อุปกรณ์ควบคุมหรือเทอร์โมสตัทจะตัดกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเมนฮีตเตอร์หลังจากข้าวสุกแล้ว โดยเทอร์โมสตัทที่ใช้ในหม้อหุงข้าวมี 2 ชนิด คือ
ก. แบบ ไบ-เมทอลิค (Bi - metallic type)
หม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ใช้เทอร์โมสตัทประเภทนี้ จะมีข้อดีตรงที่ว่าสามารถปรับแต่งการทำงานของหม้อหุงข้าวได้ ซึ่งจะสะดวกและเป็น ประโยชน์ต่อการซ่อมมาก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าไบ-เมทอลิคเป็นโลหะ 2 ชนิด ยึดติดกันอย่างแน่น และแนบสนิท ดังรูปและเมื่อได้รับ ความร้อน ก็จะทำให้เกิดการงอตัวของโลหะดังกล่าว ดังนั้นเราจึงใช้การงอตัวของ ไบ-เมทอลิค มาบังคับหรือควบคุมให้คอนแทค ทำงานตามที่เราต้องการได้

ลักษณะของเทอร์โมสตัสแบบไบ-เมทอล
ข. แบบแม่เหล็ก (Magnetizing type)
หม้อหุงข้าวไฟฟ้าชนิดที่ใช้เทอร์โมสตัท ประเภทนี้ถ้ามีจุดบกพร่องเสื่อมหรือเสียที่เทอร์โมสตัทจะต้องเปลี่ยนชุดแม่เหล็กของ เทอร์โมสตัทชนิดนี้ทั้งชุด โดยไม่สามารถปรับแต่งได้ แต่แนวโน้มในการผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในปัจจุบัน นับวันจะใช้แม่เหล็ก เป็นเทอร์โมสตัทหรือเป็นตัวกำหนดการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามากขึ้นทุกขณะ
3. หลอดบอกการทำงาน (Indicator Lamp)
หม้อหุงข้าวไฟฟ้าจะมีหลอดไฟ ที่จะทำหน้าที่บอกสภาวะการทำงานของหม้อหุงข้าวว่า ขณะนี้หม้อหุงข้าวอยู่ในสภาวะหุง (Cook) หรืออุ่น (Warm) ดังรูป
วิธีหุงข้าว
1. การล้างและซาวข้าว
เพื่อความทนทานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ควรล้างและซาวข้าวในภาชนะอื่น แล้วค่อยเทใส่ในหม้อใน
2. การเติมน้ำ ทำได้ 2 วิธี ดังนี้
2.1 ภายในหม้อในของหม้อหุงข้าว จะมีขีดบอกระดับน้ำ น้ำให้เติมตามปริมาณข้วที่จะหุง ดังรูป ถ้าหุงข้าว 8 ถ้วย ก็ให้ใส่น้ำจนถึงเลข 8 หรือถ้าหุงข้าว 1.4 ลิตร ก็ให้เติมน้ำจนถึงขีด 1.4
2.2 ให้เกลี่ยข้าวในราบให้เติมน้ำให้ท่วมฝ่ามือ สำหรับปริมาณน้ำที่จะเติมนี้ ย่อมแตกต่างกันไปตามชนิดของข้าว และความต้องการ ของแต่ละบุคคล
3. การวางหม้อ ก่อนวางหม้อในลงในหม้อนอก ให้เช็ดน้ำและสิ่งสกปรกที่ก้นหม้อและในรอบ ๆ ตัวหม้อออกให้หมดเสียก่อน และดูว่าบนแผ่นความร้อนไม่มีสิ่งสกปรกหรือเม็ดข้าวติดอยู่ และเมื่อวางลงไปแล้ว ให้ขยับดูว่าหม้อใน ขอบไม่ค้ำ หม้อนอก และหม้อใน แนบสนิทกับแผ่นความร้อนดีดังในรูป
4. การหุง เมื่อวางหม้อในลงในหม้อนอกแล้วปิดฝาหม้อเสียบปลั๊กเข้าสวิทซ์ไฟอุ่น (Warm) จะติด เมื่อกดสวิทซ์สีแดงลง ไฟหุง (Cook) จะติดและหม้อก็อยู่ในสภาพที่หุงข้าว และเมื่อข้าวในหม้อสุก หม้อก็จะเปลี่ยนจากสภาพที่หุงไปเป็นอุ่นพร้อมทั้งไฟก็จะ แสดงว่าหม้ออยู่ในสภาพการอุ่นแล้ว ตามปกติเพื่อให้ข้าวมีรสชาติดียิ่งขึ้นเมื่อสุกแล้ว ยังไม่ควรเปิดฝา ควรปล่อยให้ข้าวถูกดงอยู่อีก 10-15 นาที เพื่อให้ข้าวอ่อนนุ่ม และอร่อยขึ้น
การอุ่นข้าว
การอุ่นข้าวมีอยู่ 3 วิธี คือ
1. การอุ่นข้าวต่อจากการหุงตามปกติ เมื่อข้าวสุกแล้วหม้อก็จะอุ่นโดยอัตโนมัติซึ่งการอุ่นอย่างนี้ไม่ควรเกิน 4-5 ชั่วโมง เพราะข้าวจะ แห้งเกินไป
2. หลังจากการอุ่นมานาน ถ้าต้องการอุ่นต่อไป ควรทำข้าวให้ร่วนแล้วพรมน้ำ กดสวิทช์ให้หุงทิ้งไว้สักครู่สวิทช์ก็จะตัด นำมารับประทานได้
3. ในการอุ่นข้าวจำนวนน้อย หรือข้าวเหลือให้เอาข้าวออกจากหม้อในเติมน้ำปริมาณที่เหมาะสมในหม้อแล้ววางแผ่นอุ่นลง แล้วนำข้าว วางลงบนแผ่นอุ่นโดยตรง หรือใช้ชามหรือจานวางลงบนแผ่นอุ่นแล้วกดสวิทช์หุง เมื่อปิดฝาเรียบร้อยแล้ว เมื่อข้าวร้อนได้ที่ไฟหุงจะดับ โดยอัตโนมัติอบทิ้งไว้อีก
ในการอุ่นข้าวโดยวิธีที่ 3 นี้ ท่านอาจใช้อุ่น หรือนึ่งปลา ไข่ ซาลาเปา ตุ๋นไข่ ฯลฯ โดยนำเอาสิ่งของสิ่งของที่นึ่งใส่ชามและทำตามวิธีการ นึ่งข้าว เมื่ออาหารร้อนดีแล้วจึงกดสวิทช์ดับไปอยู่ที่อุ่นในกรณีที่ลืมไว้ เมื่อน้ำในหม้อแห้งหม้อข้าวจะทำงานโดยอัตโนมัติไปอยู่ที่อุ่น นอกจากนี้ท่านยังสามารถนึ่งอาหารอย่างอื่น โดยนำอาหารวางลงแผ่นนึ่งโดยตรง
คำแนะนำ เพื่อความคงทนในการใช้งาน ท่านควรปฏิบัติตามคำแนะนำนี้
1. อย่ากดสวิทช์หุงเมื่อไม่มีหม้อในและข้าวที่หุงอยู่ ถึงแม้หม้อข้าวจะมีระบบนิรภัยไว้แล้ว
2. อย่าใช้สก๊อตไบร์ขัดหม้อใน เพราะบางส่วนของหม้อในมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหุงข้าว
3. อย่าเสียบปลั๊กจับสวิทช์ หรือหม้อนอกในขณะที่มือเปียกเพราะอาจเกิดอันตรายถ้าไฟรั่ว
4. อย่าลืมถอดปลั๊กไฟออกทุกหลังจากการใช้งาน ไม่เช่นนั้นหม้อจะอุ่นอยู่ตลอดเวลา
5. อย่าวางแผ่นนึ่งบนแผ่นความร้อน หรือในหม้อใน ในเวลาหุงข้าว
6. ก่อนหุงข้าวเช็ดหม้อใน และแผ่นความร้อนให้แห้งสะอาดเสียก่อน
7. เมื่อกดสวิทช์หุงถ้าไม่ติด หรือติดก็ตามอย่าใช้ไม้ค้ำหรือกดคาไว้
ไม้ค้ำสวิทซ์หรือกดคาไว้
8. อย่าทำความสะอาดตัวหม้อนอก โดยการยกล้างในอ่างหรือพรมน้ำลงบนแผ่นความร้อน
9. ระวังอย่าให้บริเวณก้นหม้อ และบริเวณขอบหม้อถูกกระแทกบุบ เพราะจะทำให้การวางหม้อในไม่สนิทแนบแผ่นความร้อน
10. อย่าพยายามกดไฟหุงทันทีอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจะหุงรอบใหม่รอประมาณ 10 นาที เพื่อให้หม้ออยู่ในสภาพอุณหภูมิปกติก่อน


ที่มา http://www.ku.ac.th/e-magazine/april44/know/rice.html